กองทุนหมู่บ้าน นิคม

 แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์สมาชิกกองทุนหมู่บ้านบ้านนิคม เนื่องด้วยสมาชิกกองทุนหมู่บ้านบ้านนิคมทำฌาปนกิจสงเคราะห์ไว้ปีละ 200 บาท/ปี ปีนี้ได้เวลากำหนดต้องชำระแล้วเพื่อนำส่ง ในปี 2567 ในเดือนนี้ถึง 31 ธันวาคม 2566 ทางกองทุนจะเก็บเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ 200 บาท ทุกท่าน ที่สมัครไว้ และท่านใดมีความประสงค์ จะสมัครฌาปนกิจสงเคราะห์ปีละ 200 บาท ยื่นเอกสารแจ้ง แจ้งให้ กรรมการรับทราบพร้อมกับเงิน 200 บาท ภายใน 31 ธันวาคมนี้เท่านั้น    ขอความร่วมมือ อีกไม่นานนี้จะมีเจ้าหน้าที่ไปเก็บเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ 200 บาท ขอให้ท่านให้ความร่วมมือด้วยหากท่านไม่สะดวกในการชำระในกรณีไปเก็บให้ โอนเงินเข้าบัญชี กองทุนหมู่บ้านฯ และส่งสลิปมา เพื่อลงระบบ จะเก็บเงินจนถึงเดือน ธันวาคม หลังจากนั้นจะปิดการเก็บและผู้ที่ไม่ชำระถือว่าสละสิทธิ์ จะตัดออกไปจึงแจ้งมาเพื่อทราบครับ

   

  • สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

    ประวัติความเป็นมา
    องค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเลเดิมมีการปกครองท้องที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ 2457 มีเพียง 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่ที่ 1 บ้านน้ำซับ หมู่ที่ 2 บ้านท่าไม้เหลี่ยม หมู่ที่ 3 บ้านดอนเกลี้ยง ต่อมาประมาณปีพุทธศักราช 2486 กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ได้เข้ามาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขุนทะเล เพื่อจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ราษฎร ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมเพื่อเป็นกฎหมายรับรองอาณาเขต เมื่อปีพุทธศักราช 2518 พื้นที่ประมาณ 37,070 ไร่ และได้ตัดเส้นทางคมนาคมสายหลัก คือ ถนนสุราษฎร์-นาสาร ผ่านกลางตำบลขุนทะเลตลอดแนว พร้อมทั้งได้จัดตั้งหมู่บ้านใหม่ เป็นหมู่ที่ 4 บ้านควนยูง หมู่ที่ 5 บ้านซอย 10 เมื่อ พ.ศ. 2504
    ตั้งแต่พุทธศักราช 2486 กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยได้เข้ามาจัดสรรที่ดินในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและใกล้เคียง เข้ามาอยู่อาศัยโดยจัดแบ่งให้ครอบครัวละ 25 ไร่ โดยถือครองที่ดินอยู่เดิม 1,393 ราย ในปี 2546 มีครอบครัวขยายเป็น 3,000 ราย และครอบครัวแฝง 2,000 ราย เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงได้จัดแบ่งเขตหมู่บ้านออกเป็น หมู่ที่ 4 บ้านควนยูง หมู่ที่ 5 บ้านซอยสิบ เมื่อ พ.ศ. 2504 และเปลี่ยนบ้านน้ำซับเป็นบ้านนิคม หมู่ที่ 1 เมื่อประมาณปี 2517 ได้แยกหมู่ที่ 2 บ้านท่าไม้เหลี่ยม ออกเป็นหมู่ที่ 6 บ้านห้วยเสียน และตั้งชื่อ หมู่ที่ 2 ใหม่เป็นบ้านท่าอู่
    ตำบลขุนทะเล ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน ได้แก่
    หมู่ที่ 1 บ้านนิคม
    หมู่ที่ 2 บ้านท่าอู่
    หมู่ที่ 3 บ้านดอนเกลี้ยง
    หมู่ที่ 4 บ้านควนยูง
    หมู่ที่ 5 บ้านซอย 10
    หมู่ที่ 6 บ้านห้วยเสียน
    หมู่ที่ 7 บ้านใหม่นิคม
    หมุ่ที่ 8 บ้านคลองเรือ
    หมู่ที่ 9 บ้านภูธรอุทิศ
    หมู่ที่ 10 บ้านใหม่จัตว

    "บ้านนิคม" หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 เดิมตำบลขุนทะเลมีเพียง 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่ที่ 1 บ้านน้ำซับ หมู่ที่ 2 บ้านท่าไม้เหลี่ยม หมู่ที่ 3 บ้านดอนเกลี้ยง บ้านนิคม “ บ้านน้ำซับ” ต่อมาประมาณ พุทธศักราช 2486 กรมประชาสงเคราะห์กระทรวงมหาดไทย ได้เข้ามาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขุนทะเลเพื่อจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ราษฎร โดยมีการออกพระราชกฤษฏีกา จัดตั้งนิคมสร้างตนเองในท้องที่อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีเพื่อเป็นกฎหมายรับรองอาณาเขตเมื่อปี พ.ศ. 2518 และได้มีการจัดสรรที่ดิน โดยจัดแบ่งให้ครอบครัวละ 25 ไร่ และในปี พ.ศ. 2504 ได้เปลี่ยนชื่อบ้านน้ำซับหมู่ที่ 1 เป็น “ บ้านนิคม ” หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล ตามประกาศ การจัดตั้งหมู่บ้านของกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันนางเกสินี รอบคอบ เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านนิคม หมู่1 เป็นหมู่บ้านหนึ่งในจำนวน 10 หมู่บ้านของตำบลขุนทะเล
    ด้านการปกครองท้องที่ มีกำนันจำนวนทั้งสิ้น 6 คนดังต่อไปนี้
    กำนันคนที่ 1 ชื่อขุนรักษาทะเลภูมิ (นายกลั่น แทนฟู)
    กำนันคนที่ 2 ชื่อพันอ้าย เพชรเกตุ (นายอ้าย เพชรเกตุ)
    กำนันคนที่ 3 ชื่อกำนันชุ่ม ดำทน เลิกใช้ระบบศักดินา รับราชการจนกระทั่งถึงแก่กรรม
    กำนันคนที่ 4 ชื่อกำนันประดิษฐ์ ทองคำงาม บ้านนิคมสร้างตนเอง ซึ่งอยู่ในประมาณปี
    พ.ศ.2486 ที่กรมประชาสงเคราะห์ได้เข้ามาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขุนทะเล
    กำนันคนที่ 5 ชื่อกำนันบันลือ สุขเขียว เป็นกำนัน 2 ปี
    กำนันคนที่ 6 ชื่อกำนันธนาธิป บัวชู ตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 – 2554
    กำนันคนที่ 7 ชื่อกำนันอำนาจ เรืองศิริ ตั้งแต่ปี พ.ศ 2554 - ปัจจุบัน
    ตำบลขุนทะเลอยู่ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานืระหว่างกิโลเมตรที่ 7-9 ถนนสุราษฏร์-นาสาร ตั้งอยู่สองฟากทางหลวงแผ่นดิน 4009 เนื้อที่ประมาณ 15 ตาราง กิโลเมตร
    จำนวนประชาชน
    2,086 ครัวเรือน รวม 2,303 คน
    ชาย 1,032 คน
    หญิง 1,271 คน
    การประกอบอาชีพ
    รับราชการ บริษัท ห้าง ร้าน รัฐวิสาหกิจ เกษตรกรรม ค้าขาย รับจ้างและบริการ
    อาณาเขต
    ทิศเหนือ จดเทศบาลนครและหมู่ที่ 6 ตำบลมะขามเตี้ย
    ทิศใต้ จดหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ตำบลขุนทะเลและบึงขุนทะเล อำเภอเมืองฯ
    ทิศตะวันออก จดหมู่ที่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองฯ
    ทิศตะวันตก จดเทศบาลนครเมืองสุราษฏร์ธานีและตำบลมะขามเตี้ย
  • ปรัชญา

    ปรัชญา สร้างสรรค์ สามัคคี มีวินัย ซื่อสัตย์ ยุติธรรม

    วิสัยทัศน์ กองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม
    ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งกระบวนการมีส่วนร่วม
    เน้นประชาธิปไตย สนับสนุนผู้นำธรรมชาติ
    เอื้ออาทรผู้ด้อยโอกาส พึ่งพาตนเอง ชุมชนเข้มแข็ง

    หลักการบริหาร
    สะอาด สว่าง สงบ

    คำขวัญตำบลขุนทะเล

    เมืองวิชชาลัย บึงใหญ่น้ำสวย
    รวยผลไม้ หลากหลายวัฒนธรรม
    งามล้ำน้ำใจ ยิ่งใหญ่ “ ขุนทะเลภูมิ ”

    การออม สร้างภูมิคุ้มกันความยากจน มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
    อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง
    อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน

    วัตถุประสงค์การรับฝากออมรายวันเพื่อส่งเสริมการเก็บเงินประหยัดอดออมไว้ใช้ในอนาคต และปลูกฝังจิตสัมนึกให้กับเด็กๆรู้จักออม
    โดยใช้คำว่า ( จำนวนฝากไม่จำกัดขอให้ประหยัดรู้จักใช้จ่ายให้ต่ำกว่าที่รับทรัพย์จึงมี )
  • ระเบียบกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม

    ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม
    ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม
    พ.ศ. 2552
    ------------------------------------------
    เพื่อให้การจัดตั้งและบริหาร กองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี สอดคล้องกับหลักการ เหตุผล และสาระของระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2551
    อาศัยความตามระเบียบ ข้อ 21 ( 2 ) แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม จึงออกระเบียบกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม พ.ศ. 2552 ไว้ดังนี้

    หมวด 1
    ข้อความทั่วไป
    -------------------------------
    ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบคณะกรรมการกองทุน หมู่บ้าน บ้านนิคม ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม พ.ศ. 2552 “
    ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
    ข้อ 3 ให้ยกเลิก ระเบียบข้อบังคับกองทุนหมู่บ้านนิคม ว่าด้วยระเบียบกองทุนหมู่บ้านนิคม พ.ศ. 2544
    ข้อ 4 ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม รักษาการตามระเบียบนี้
    ข้อ 5 ที่ตั้งกองทุนหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ตั้งอยู่ที่ 78/1 หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัด
    สุราษฎร์ธานี
    ข้อ 6 ในระเบียบนี้
    “ กองทุน ” หมายถึง กองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม
    “ สมาชิก ” หมายถึงสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม
    “ กรรมการ ” หมายถึงกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม
    “ คณะกรรมการ ” หมายถึงคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม
    “ ที่ประชุมสมาชิก ” หมายถึงที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือที่ประชุมใหญ่วิสามัญ
    ข้อ 7 ชื่อกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ชื่อย่อ กทบ. บ้านนิคม
    ข้อ 8 เครื่องหมายกองทุน ใช้สัญลักษณ์ กทบ. ( กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ )
    หมวด 2
    วัตถุประสงค์
    -----------------------
    ข้อ 9 วัตถุประสงค์กองทุน
    ( 1 ) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนหรือบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนให้สมาชิก
    ( 2 ) เพื่อเป็นแหล่งสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย
    ( 3 ) เพื่อสงเสริมและพัฒนาชุมชนให้สามารถบริหารจัดการเงินทุนของตนเอง
    ( 4 ) เพื่อสร้างเสริมขบวนการเรียนรู้โดยมีส่วนร่วม ตามแบบประชาธิปไตย
    ( 5 ) ส่งเสริมให้ชุมชนพึ่งพาตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
    ( 6 ) เสริมสร้างความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจ และสังคมของประชาชนในหมู่บ้าน
    ( 7 ) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากในประเทศ
    ( 8 ) เพื่อส่งเสริมการจัดสวัสดิการช่วยเหลือเอื้ออาทร คนแก่ เด็ก คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส
    ( 9 ) เพื่อรับฝากเงินจากสมาชิกและจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนอื่น
    ( 10 ) เพื่อให้กู้ยืมเงินแก่กองทุนหมู่บ้านอื่น นำไปสร้างนำไปสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ
    หมวด 3
    สมาชิกกองทุน
    ----------------------
    ข้อ 10 คุณสมบัติของสมาชิก
    ( 1 ) อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ตามทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
    ( 2 ) เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    ( 3 ) มีความพร้อมที่จะปฏิบัติตามระเบียบกองทุน
    ( 4 ) เห็นชอบตามหลักการ เงื่อนไข และมติของคณะกรรมการ
    ( 5 ) มีวินัยอันดีงาม ความประพฤติเรียบร้อย
    ( 6 ) มีเงินฝากออมทรัพย์และถือหุ้นเป็นสมาชิกสิบหุ้น
    ( 7 ) คณะกรรมการกองทุนมีมติเห็นชอบให้รับเป็นสมาชิก

    ข้อ 11 การสมัครเข้าเป็นสมาชิก
    ( 1 ) ยื่นคำขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกได้ที่กรรมการกองทุน ทุกวันที่ 18 ของเดือน พร้อมสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ( นำฉบับจริงมาแสดงด้วย )
    ( 2 ) เมื่อคณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้เป็นสมาชิกแล้ว จะต้องรวมกลุ่ม 5 – 10 คน โดยมี หัวหน้ากลุ่ม เพื่อบริหารจัดการกลุ่ม ตามเงื่อนไขของคณะกรรมการ
    ( 3 ) คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาว่าจะรับบุคคลใดเข้าเป็นสมาชิกโดยชอบธรรม
    ข้อ 12 เมื่อคณะกรรมการพิจารณารับเข้าเป็นสมาชิก บุคคลนั้นจะต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าหุ้นเป็นสมาชิก และต้องฝากเงินออมทรัพย์ทุกเดือน สำหรับเงินค่าธรรมเนียมจะไม่คืนทุกกรณี
    ข้อ 13 สิทธิของสมาชิก
    ( 1 ) ขอกู้ยืมเงินกองทุน ตามเงื่อนไข หลักการที่คณะกรรมการกำหนด
    ( 2 ) เข้าร่วมประชุมกองทุน เพื่อเสนอความคิดเห็น
    ( 3 ) มีสิทธิได้รับเลือกเป็นกรรมการกองทุน
    ( 4 ) สิทธิอื่นๆ ตามที่กรรมการกำหนด
    ข้อ 14 หน้าที่ของสมาชิก
    ( 1 ) ปฏิบัติตามระเบียบ มติ ประกาศ คำสั่งของคณะกรรมการกองทุน
    ( 2 ) ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมของกองทุน เพื่อให้เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง
    ( 3 ) ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการกองทุน
    ข้อ 15 การพ้นจากการเป็นสมาชิกกองทุน
    ( 1 ) ตาย
    ( 2 ) ลาออกและได้รับการอนุมัติให้ลาออกจากคณะกรรมการ
    ( 3 ) ที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้ออก ด้วยคะแนนสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
    ( 4 ) ที่ประชุมสมาชิกมีมติให้ออกด้วยคะแนนเกินกว่าสองในสามของสมาชิกทั้งหมด
    ( 5 ) จงใจฝ่าฝืนระเบียบกองทุนหรือแสดงตนเป็นปรปักต่อกองทุน
    ( 6 ) จงใจปิดบังความจริงอันควรแจ้งให้ทราบในใบสมัครสมาชิก
    ( 7 ) ขาดคุณสมบัติ ตามข้อ 10
    ข้อ 16 ผู้ที่ขาดจากการเป็นสมาชิกภาพ อาจยื่นคำขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ได้เมื่อครบหนึ่งปีแล้ว โดยกองทุนจะเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าเพิ่มเป็นสองเท่า
    ข้อ 17 สมาชิกผู้ไม่มีหนี้สิน หรือไม่เป็นผู้ค้ำประกันอาจขอลาออกจากการเป็นสมาชิก และให้ขาดจากเป็นสมาชิกในวันที่คณะกรรมการอนุมัติ
    ข้อ 18 การคิดค่าธรรมเนียมแรกเข้า คณะกรรมการคิดค่าธรรมเนียมแรกเข้ารายละยี่สิบบาท
    ข้อ 19 หุ้น ๆ หนึ่งมีมูลละค่าหุ้นละสิบบาท สมาชิกต้องถือหุ้นสิบหุ้น มูลค่าถือหุ้น ถือเป็นค่าสมัครสมาชิก
    ข้อ 20 เงินฝากออมทรัพย์ สมาชิกทุกคนต้องฝากเงินออมทรัพย์ทุกเดือน ในวงเงินไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในใบสมัคร
    หมวด 4
    คณะกรรมการกองทุน
    ---------------------------------------
    ข้อ 21 คุณสมบัติของคณะกรรมการ
    ( 1 ) เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและอาศัยอยู่ในหมู่บ้านติดต่อกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับคัดเลือก เป็นกรรมการ
    ( 2 ) เป็นผู้บรรลุนิติภาวะโดยมีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    ( 3 ) เป็นผู้ไม่มีความประพฤติบกพร่องในศีลธรรมอันดี มีความรับผิดชอบ เสียสละ มีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน ไม่ติดการพนัน ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดและไม่มีประวัติเสียทางด้านการเงิน ตลอดจนยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
    ( 4 ) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถหรือบุคลล้มละลาย
    ( 5 ) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
    ( 6 ) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อทรัพย์สิน เว้นแต่ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ หรือบุกรุก
    ( 7 ) ไม่เคยถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เพราะกระทำความผิดวินัยร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ทางราชการ องค์กร หรือหน่วยงานที่สังกัด
    ( 8 ) ไม่เป็นผู้เคยพ้นจากตำแหน่งคณะกรรมการกองทุน ตามข้อ 15 ( 3 ) ( 4 )
    ข้อ 22 คณะกรรมการกองทุน มีจำนวนไม่น้อยกว่า เก้าคนแต่ไม่เกิน สิบห้าคน ซึ่งมาจากสมาชิกโดยการคัดเลือกกันเองจากบุคคลที่มีความสามารถ การคัดเลือกกรรมการควรคำนึงถึงจำนวนกรรมการชาย และหญิงในสัดส่วนใกล้เคียงกัน
    ข้อ 23 กรรมการกองทุน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการกองทุนที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับการคัดเลือกอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ เว้นแต่ได้รับมติจากที่ประชุมสมาชิก โดยมีคะแนนเสียงสามในสี่รับรองให้เป็นกรรมการต่อ และมีความประสงค์จะปฏิบัติงานต่อไปให้มีสิทธิเป็นกรรมการต่อไปตามวาระ
    ข้อ 24 นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการกองทุนหมู่บ้าน พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
    ( 1 ) ตาย
    ( 2 ) ลาออก
    ( 3 ) คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน มีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
    ( 4 ) ที่ประชุมสมาชิกมีมติให้ออกคะแนนเสียงเกินกว่าสองในสาม ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด
    ( 5 ) ลักษณะต้องห้ามตามข้อ 21 ในกรณีที่กรรมการกองทุนหมู่บ้าน พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน อาจแต่งตั้งบุคคลจากสมาชิกดำรงตำแหน่งกรรมการกองทุนหมู่บ้านแทนก็ได้และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ที่ตนแทน
    ข้อ 25 ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเลือกกรรมการด้วยกันเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เหรัญญิก แลเลขานุการ
    ข้อ 26 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาได้ตามความเหมาะสม
    ข้อ 27 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
    ( 1 ) บริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน รวมทั้งตรวจสอบ กำกับ ดูแล และจัดสรรดอกผล รายได้ หรือผลประโยชน์ ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน
    ( 2 ) ออกประกาศ ระเบียบ หรือข้อบังคับ เกี่ยวกับการบริหารกองทุนหมู่บ้าน
    ( 3 ) จัดตั้งสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน
    ( 4 ) รับสมัครและทำทะเบียนสมาชิก
    ( 5 ) จัดหาทุนจากแหล่งเงินทุน
    ( 6 ) พิจารณาเงินกู้ยืมให้แก่สมาชิก หรือกองทุนหมู่บ้านอื่น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
    ( 7 ) ทำนิติกรรม สัญญา หรือดำเนินการเกี่ยวกับภาระผูกพันของกองทุนหมู่บ้าน
    ( 8 ) จัดทำบัญชีของกองทุนหมู่บ้าน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
    ( 9 ) สำรวจและจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมครัวเรือนและวิสาหกิจชุมชน ในเขตพื้นที่ หมู่บ้าน ตลอด จากข้อมูลและการดำเนินงานเกี่ยวกับกองทุนอื่นๆที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้าน
    ( 10 ) พิจารณาดำเนินการเพื่อ สวัสดิ์ภาพ สวัสดิการ หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นใดของสมาชิกและหมู่บ้าน
    ( 11 ) ดำเนินการอื่นใดเพื่อให้สอดรับและเกื้อกูลกับกองทุนอื่นๆที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้าน
    ( 12 ) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน
    การดำเนินการใดๆตาม ( 10 ) ให้ใช้จ่ายจากเงิน รายได้ของกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งมิใช่เงินที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
    ข้อ 28 ประธานกรรมการกองทุน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
    ( 1 ) เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการ
    ( 2 ) เรียกประชุมคณะกรรมการกองทุน
    ( 3 ) แต่งตั้งอนุกรรมการกองทุนเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการกองทุนมอบหมาย
    ( 4 ) ปฏิบัติงานอื่นๆตามมติที่คณะกรรมการกำหนด
    ข้อ 29 ให้รองประธานกรรมการกองทุนทำหน้าที่ประธาน เมื่อประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
    ข้อ 30 เหรัญญิกกองทุน มีหน้าที่รวบรวมเก็บจัดเก็บ ดูแล รักษาเงินทุนและรายได้ของกองทุน รวมทั้งจัดทำบัญชี
    พร้อมทั้งควบคุมการใช้จ่ายเงินของกองทุน ให้เป็นไปอย่างรอบคอบและเกิดประโยชน์สูงสุด
    ข้อ 31 เลขานุการกองทุน มีหน้าที่ติดต่อประสานงานโดยทั่วไป นัดประชุมคณะกรรมการกองทุน จดและบันทึกรายงานการประชุม
    รายงานผลการดำเนินงานกองทุน
    ข้อ 32 ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์ แจ้งข่าวสารแก่สมาชิก และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    ข้อ 33 ปฎิคม มีหน้าที่ต้อนรับผู้มาเยี่ยมกองทุน บริการทั่วไปเมื่อมีการประชุมสมาชิกกองทุน
    และมีหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมอบหมาย
    ข้อ 34 ฝ่ายติดตามโครงการ มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบโครงการที่สมาชิกเสนอมา ว่ามีความเป็นไปได้เพียงใด
    และติดตามผลเมื่อกู้เงินไปแล้วได้นำไปปฏิบัติตามโครงการที่เสนอหรือไม่
    ข้อ 35 ฝ่ายติดตามเงินกู้ มีหน้าที่ติดตามผู้ที่ไม่ส่งชำระคืนตามกำหนดและหาแนวทางแก้ไขเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อแก้ไขต่อไป
    ข้อ 36 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ต้องมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งและต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม

    หมวด 5
    ที่มาของเงินทุน
    -----------------------------
    ข้อ 37 เงินทุนละทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน ประกอบด้วย
    ( 1 ) เงินที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้
    ( 2 ) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
    ( 3 ) เงินที่สมาชิกนำมาลงหุ้น หรือฝากไว้กับกองทุนหมู่บ้านตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
    ( 4 ) เงินที่กู้จากสถาบันการเงิน
    ( 5 ) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้าน ได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไข หรือข้อผูกพันใดๆ
    ( 6 ) ดอกผล รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน
    หมวด 6
    การกู้ยืมเงินและการชำระเงินคืน
    ------------------------------------------------
    ข้อ 38 การกูยืมเงินกองทุนหมู่บ้าน
    ( 1 ) การกู้ยืมเงินมี สองประเภท คือการกู้สามัญและการกู้ฉุกเฉิน
    ( 2 ) สมาชิกกองทุนหมู่บ้านที่ประสงค์จะขอกู้เงินต้องจัดทำคำขอกู้เงินโดย ระบุวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมอย่างชัดเจน โดยให้ยื่นคำกู้ดังกล่าวที่กรรมการในวันสิ้นเดือนทุกเดือนสำหรับกู้ฉุกเฉินยื่นได้ทุกวัน
    ( 3 ) การกู้สามัญ สมาชิกรายหนึ่งกู้ได้ไม่เกินสองหมื่นบาท ในกรณีที่คณะกรรมการมีความเห็นควรอนุมัติเงินกู้รายใดเกินกว่าสองหมื่นบาท ให้คณะกรรมการเรียกประชุมสมาชิกพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป แต่ทั้งนี้การอนุมัติเงินกู้รายหนึ่งต้องไม่เกินจำนวนห้าหมื่นบาท
    ( 4 ) การกู้ฉุกเฉิน สมาชิกรายหนึ่งกู้ได้ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เพื่อบรรเทาเหตุฉุกเฉินและความจำเป็นเร่งด่วน
    ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้แทนกรรมการอย่างน้อยสองคนเป็นผู้แทนคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ในการทำสัญญากู้ยืมเงินกับผู้ขอกู้ที่ได้รับการอนุมัติเงินกู้
    ( 5 ) การทำสัญญา เงินกู้ทุกประเภทต้องมีการทำสัญญาไว้กับคณะกรรมการกองทุนตามแบบและเงื่อนไขที่กองทุนกำหนด ( 6 ) หลักประกันเงินกู้
    1.บัญชีเงินฝากออมทรัพย์
    2.สมาชิกกองทุนหมู่บ้านจำนวนสองคนเป็นผู้ค้ำประกัน
    ( 7 ) อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อย สิบสองต่อปี

    ข้อ 39 การชำระเงินคืน การชำระคืนเงินกู้ ให้สมาชิกผู้กู้ส่งคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย ภายในหนึ่งปี โดยจะส่งชำระ เป็นรายงวดหรือรายเดือน
    ข้อ 40 ค่าปรับ ในกรณีที่ผู้กู้ผิดสัญญาเงินกู้ ให้ผู้กู้เสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละศูนย์จุดห้า ต่อเงินต้นต่อวัน คณะกรรมการอาจพิจารณา ยกเลิกหรือปรับลดเบี้ยปรับให้แก่ผู้กู้รายหนึ่งรายใดก็ได้ เมื่อมีเหตุผลอันสมควรและด้วยความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิกด้วยเสียงเกินกึ่งหนึ่ง


    หมวด 7
    การทำบัญชีและตรวจสอบ
    -----------------------------------------------

    ข้อ 41 ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจัดทำบัญชี จัดทำรายรับ - รายจ่าย อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งและแจ้งให้สมาชิกทราบ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงิน การบัญชี และพัสดุโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของสมาชิกเป็นหลัก ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบ เพื่อตรวจสอบและประเมินผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ให้คณะกรรมการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบ ให้ผู้ตรวจสอบ ส่งผลประกอบการและงบการเงินให้สำนักงาน และการแสดงความเห็นภายในหกสิบวัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชี
    ข้อ 42 ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน จัดทำงบการเงินพร้อมรายละเอียด ส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีที่คณะกรรมการกำหนดภายในระยะเวลา สามสิบวัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี ของทุกปีให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน สรรหาผู้ตรวจสอบบัญชีกองทุน เสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อขอความเห็นชอบในการทำหน้าที่ตรวจสอบและประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของกองทุน พร้อมจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อสมาชิกและสาธารณะชน

    หมวด 8
    การประชุมกองทุนหมู่บ้าน
    ---------------------------------------
    ข้อ 43 การประชุมคณะกองทุนหมู่บ้าน จะต้องมีกรรมการมาประชุมเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการกองทุนหมู่บ้านทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานทำหน้าที่ในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการกองทุนที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมการวินิจฉัยชี้ขาด ของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด กรรมการกองทุนหมู่บ้านผู้ใดมีส่วนได้ส่วนเสียเป็นส่วนตัวในเรื่องใด ห้ามมิให้เข้าร่วมประชุมในเรื่องนั้น




    ข้อ 44 การประชุมสมาชิก ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีสมาชิก อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายในกำหนด
    ระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี โดยมีวาระการประชุม
    ( 1 ) ประธานกล่าวเปิดประชุม
    ( 2 ) เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
    ( 3 ) รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา
    ( 4 ) เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งก่อน
    ( 5 ) เหรัญญิกรายงานฐานะทางการเงิน
    ( 6 ) เรื่องเพื่อพิจารณา
    ( 7 ) เรื่องอื่นๆ ( ถ้ามี )
    ( 8 ) สรุปผลและปิดการประชุม
    ข้อ 45 นอกจากการประชุมใหญ่สามัญประจำปีแล้ว คณะกรรมการอาจเรียกประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้เมื่อมีเหตุที่ต้องขอมติหรือขอความเห็น ชอบจากที่ประชุมสมาชิกตามระเบียบจากกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรมการกองทุนเรียกประชุมใหญ่สามัญภายในระยะเวลาสิบห้าวัน นับแต่วันที่ ได้รับการร้องขอเป็นหนังสือจากสมาชิกซึ่งเข้าชื่อกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
    ข้อ 46 ในการประชุมสมาชิก ต้องมีสมาชิก มาร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุมการประชุมคราวใดมีสมาชิกมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้นัดประชุมอีกครั้งหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันประชุมครั้งแรก ในการประชุมครั้งหลัง ถ้ามิใช่ประชุม ใหญ่สามัญประจำปี เมื่อสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดให้ถือเป็น องค์ประชุม
    ข้อ 47 สมาชิกคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก

    หมวด 9
    การจัดสรรกำไรสุทธิปลายปี
    --------------------------
    ข้อ 48 การจัดสรรกำไรสุทธิปลายปี เมื่อสิ้นปีทางบัญชีของกองทุนหมู่บ้าน และได้ปิดบัญชีตามมาตรฐานการปิดบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปแล้ว ปรากฏว่ากองทุนมีกำไรสุทธิ ให้คณะกรรมการกองทุนนำกำไรสุทธิมาจัดสรรได้ดังนี้
    ( 1 ) เป็นเงินประกันความเสี่ยงในอัตราร้อยละห้า
    ( 2 ) เป็นเงินสมทบกองทุน ในอัตราร้อยละยี่สิบ
    ( 3 ) เป็นเฉลี่ยคืนแก่ผู้กู้ในอัตราร้อยละห้า
    ( 4 ) เป็นเงินทุนสวัสดิการแก่สมาชิกในอัตราร้อยละสิบ
    ( 5 ) เป็นเงินทุนสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้านในอัตราร้อยละสิบ
    ( 6 ) เป็นเงินทุน พัฒนากองทุนร้อยละสิบ
    ( 7 ) เป็นเงินตอบแทนคณะกรรมการในอัตราร้อยละยี่สิบ
    ( 8 ) เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงากองทุนในอัตราร้อยละยี่สิบ


    ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552


    ( นายสบาย ไสยรินทร์ )
    ประธานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม


















    ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม
    ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม( ฉบับที่ 3 )
    พ.ศ. 2555
    .....................................................................................
    ด้วยเหตุที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ มีมติ ในการประชุมครั้งที่ 1 / 2555 เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555 และอาศัยระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม พ.ศ. 2552 หมวด 4 ข้อ 27 (2) คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม จึงได้ออกระเบียบไว้ดังนี้
    ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหาร กองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม( ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2555
    ข้อ 2. ระเบียบนี้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป
    ข้อ 3. ให้ยกเลิกความในหมวด 6 ข้อ 38 (3) (4) แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม พ.ศ.2552 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ การกู้สามัญ สมาชิกรายหนึ่งกู้ได้ไม่เกินสามหมื่นบาท ในกรณีที่คณะกรรมมีความเห็นควรอนุมัติรายใดเกินกว่าสามหมื่นบาท ให้คณะกรรมการเรียกประชุมสมาชิกพิจารณาวินิจฉัย แต่ทั้งนี้การอนุมัติเงินกู้ รายหนึ่งต้องไม่เกินจำนวนเจ็ดหมื่นห้าพันบาท ”
    “ การกู้ฉุกเฉิน สมาชิกรายหนึ่งกู้ได้ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาท เพื่อบรรเทาเหตุฉุกเฉิน และความจำเป็นเร่งด่วน ”



    ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555


    ( นายสบาย ไสยรินทร์ )

    ประธานคณะกรรมการ กองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม




    ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม
    ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ( ฉบับที่ 2 )
    พ.ศ. 2553
    .................................................................................................

    โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552 และอาศัยระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม พ.ศ. 2552 หมวด 4 ข้อ 27 ( 2 ) คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
    บ้านนิคม จึงออกระเบียบไว้ดังนี้
    ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2553
    ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
    ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในหมวด 6 ข้อ 39 แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ข้อความนี้แทน “ การชำระเงินคืน การชำระเงินคืนเงินกู้ให้สมาชิกผู้กู้ ส่งคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย ภายในสองปี โดยจะส่งเป็นรายงวดหรือรายเดือน ”

    ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553


    (นายสบาย ไสยรินทร์ )
    ประธานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม


    ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม
    ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ( ฉบับที่ 2 )
    พ.ศ. 2553
    .................................................................................................

    โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552 และอาศัยระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม พ.ศ. 2552 หมวด 4 ข้อ 27 ( 2 ) คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม จึงออกระเบียบไว้ดังนี้
    ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2553
    ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
    ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในหมวด 6 ข้อ 39 แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ข้อความนี้แทน
    “ การชำระเงินคืน การชำระเงินคืนเงินกู้ให้สมาชิกผู้กู้ ส่งคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย ภายในสองปี โดยจะส่งเป็นรายงวดหรือรายเดือน ”

    ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553




    (นายสบาย ไสยรินทร์ )
    ประธานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม

    ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม
    ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม( ฉบับที่ 3 )
    พ.ศ. 2555
    .....................................................................................
    ด้วยเหตุที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ มีมติ ในการประชุมครั้งที่ 1 / 2555 เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555 และอาศัยระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม พ.ศ. 2552 หมวด 4 ข้อ 27 (2) คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม จึงได้ออกระเบียบไว้ดังนี้
    ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหาร กองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม( ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2555
    ข้อ 2. ระเบียบนี้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป
    ข้อ 3. ให้ยกเลิกความในหมวด 6 ข้อ 38 (3) (4) แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม พ.ศ.2552 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ การกู้สามัญ สมาชิกรายหนึ่งกู้ได้ไม่เกินสามหมื่นบาท ในกรณีที่คณะกรรมมีความเห็นควรอนุมัติรายใดเกินกว่าสามหมื่นบาท ให้คณะกรรมการเรียกประชุมสมาชิกพิจารณาวินิจฉัย แต่ทั้งนี้การอนุมัติเงินกู้ รายหนึ่งต้องไม่เกินจำนวนเจ็ดหมื่นห้าพันบาท ”
    “ การกู้ฉุกเฉิน สมาชิกรายหนึ่งกู้ได้ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาท เพื่อบรรเทาเหตุฉุกเฉิน และความจำเป็นเร่งด่วน ”



    ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

    ( นายสบาย ไสยรินทร์ )

    ประธานคณะกรรมการ กองทุนหมู่บ้าน บ้านนิคม
Visitors: 49,932